วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

 องค์ประกอบของดนตรีไทย  
1.เสียงของดนตรีไทย
เสียงดนตรีไทยประกอบด้วยระดับเสียง 7 เสียง แต่ละเสียงมีช่วงห่างเท่ากันทุกเสียง เสียงดนตรีไทย แต่ละเสียงเรียกชื่อแตกต่างกันไป ในดนตรีไทยเรียกระดับเสียงว่า “ทาง” ในที่นี้ ก็คือ ระดับเสียงของเพลงที่บรรเลงซึ่งกำหนดชื่อเรียกเป็นที่หมายรู้กันทุกๆเสียง  จำแนกเรียงลำดับขึ้นไปทีละเสียง
 2. จังหวะของดนตรีไทย 
“จังหวะ”   มีความหมายถึงมาตราส่วนของระบบดนตรีที่ดำเนินไปในช่วงของการ
บรรเลงเพลงอย่างสม่ำเสมอ เป็นตัวกำหนดให้ผู้บรรเลงจะต้องใช้เป็นหลักในการ    บรรเลงเพลง
จังหวะของดนตรีไทยจำแนกได้   3 ประเภท คือ 
1. จังหวะสามัญ หมายถึงจังหวะทั่วไปที่นักดนตรียึดเป็นหลักสำคัญในการบรรเลง
และขับร้องโดยปกติจังหวะสามัญที่ใช้กันในวงดนตรีจะมี  3 ระดับ คือ
จังหวะช้า                 ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   สามชั้น
จังหวะปานกลาง     ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   สองชั้น
จังหวะเร็ว                ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   ชั้นเดียว
2. จังหวะฉิ่ง หมายถึง  จังหวะที่ใช้ฉิ่งเป็นหลักในการตี โดยปกติจังหวะฉิ่งจะตี “ฉิ่ง…ฉับ”
สลับกันไปตลอดทั้งเพลง แต่จะมีเพลงบางประเภทตีเฉพาะ “ฉิ่ง” ตลอดเพลง
บางเพลงตี “ฉิ่ง  ฉิ่ง  ฉับ” ตลอดทั้งเพลง หรืออาจจะตีแบบอื่นๆ ก็ได้  จังหวะฉิ่งนี้
นักฟังเพลงจะใช้เป็นแนวในการพิจารณาว่าช่วงใดเป็นอัตราจังหวะสามชั้น สองชั้น
หรือ ชั้นเดียวก็ได้ เพราะฉิ่งจะตีเพลงสามชั้นให้มีช่วงห่างตามอัตราจังหวะของเพลง  หรือ ตีเร็วกระชั้นจังหวะ ในเพลงชั้นเดียว
1 2 3 41 2 3 41 2 3 41 2 3 4
สามชั้น -  -  -  - - - - ฉิ่ง - - - - - - - ฉับ
สองชั้น -  -  - ฉิ่ง - - - ฉับ- - - ฉิ่ง - - - ฉับ
ชั้นเดียว - ฉิ่ง- ฉับ- ฉิ่ง- ฉับ- ฉิ่ง- ฉับ- ฉิ่ง- ฉับ

kanun_infinity(at)hotmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น